|
=$sql_data[1][0]['research_grp_name']?>
|
|
=$lang['wildlife_data_img_cate']?> :
=(($sql_data[1][0]['research_grp_img']!="")?' ('.$lang['image_zoom_box'].') ':"-")?>
=$lang['wildlife_data_description']?> :
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกอย่างทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ(Amphibian)เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะคือ ผิวหนังมีต่อมเหมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดหรือขน หายใจด้วยเหงือก,ปอด,ผิวหนัง หรือผิวในช่องปากในลำคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2-3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำ มีสารเป็นวุ้นหุ้มล้อมรอบ
ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าซจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่เส้นเลือด ระยะจำศีลนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ ซาลาแมนเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ซาลาแมนเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจัดเป็นสัตว์เลือดเย็น เช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นนี้แล้วกว่า 6,500 ชนิด ในประเทศไทยพบอยู่ทั้งหมด 172 ชนิด
|